ประวัติความเป็นมา
ทุเรียนกวนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีมากในจังหวัดยะลาโดยเฉพาะทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิม เรียกว่า “ทุเรียนพื้นบ้าน” จะปลูกกันมากในอำเภอธารโต ที่ตำบลบ้านแหร เนื่องจากตำบลบ้านแหร มีภูมิประเทศมีภูเขาล้อมรอบ มีป่าชุ่มชื้นเหมาะการปลูกทุเรียนพื้นบ้าน ทำให้ในแต่ละปีมีผลผลิตทุเรียนพื้นบ้านมาก
กลุ่มแม่บ้านตำบลบ้านแหร จึงได้แปรรูปโดยการกวนเป็นการถนอมอาหารอย่างหนึ่งที่มีมาตั้งแต่ครั้งโบราณเป็นความชาญฉลาดของปู่ ย่า ตายาย ที่คิดวิธีการถนอมอาหารไว้รับประทานได้นาน ทุเรียนกวนของตำบลบ้านแหรมีสูตรเฉพาะทำให้รสชาติดี มีกลิ่นหอม และมีรสชาตินุ่มนวลหวานกลมกล่อม
วัตถุดิบและส่วนประกอบ
๑. เนื้อทุเรียน
2. น้ำตาลทราย
3. เกลือป่น
ขั้นตอนการผลิต
1. ฉีกทุเรียนและแกะทุเรียน
2. แกะเนื้อทุเรียน
3. กวนทุเรียน
เอกลักษณ์/จุดเด่นผลิตภัณฑ์
ทุเรียนพันธุ์พื้นบ้าน มีผลขนาดเล็ก เมล็ดใหญ่ เนื้อน้อยแต่มีรสหวานจัด กลิ่นหอมเนื้อทุเรียนเมื่อกวนเสร็จแล้วจะมีความเหนียว
เทคนิค/เคล็ดลับในการผลิต
การกวนเนื้อทุเรียน 1 กิโลกรัมใส่น้ำตาลทรายเพียง 800 กรัมเนื่องจากเนื้อทุเรียน พันธุ์พื้นบ้านมีรสชาติหวานจัดในการเพิ่มความหวานจึงไม่ต้องใส่น้ำตาลทรายมาก และใส่เกลือป่น 1 ช้อนชาเพื่อเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อม |