ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 24' 46.152"
17.4128200
Longitude : E 102° 47' 59.0118"
102.7997255
No. : 75219
พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์)
Proposed by. admin group Date 25 May 2011
Approved by. อุดรธานี Date 3 September 2012
Province : Udon Thani
0 1847
Description
ไม่มีรายละเอียดแน่ชัด ทราบจากพระนิพนธ์นิทานโบราณคดี ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพว่า พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) เป็นคนจันทบุรี ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์มาก่อน ได้มีความรู้ ระเบียบแบบแผน ธรรมเนียมราชสำนัก และรู้จักข้าราชการผ่ายต่าง ๆ ได้ดี ต่อมาลาออกไปค้าขายที่เมืองเหนือ เจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกไปพบเข้าเห็นหน่วยก้านดีจึงชวนเข้ารับราชการ ได้เลื่อนชั้นขึ้นตามลำดับจนได้เป็น พระสีหสงคราม ผู้ว่าราชการเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อ พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวที่เมืองแพร่ ขบถสามารถยึดเมืองแพร่ได้ และรวบรวมกำลังยกไปตีหัวเมืองเหนืออื่น ๆ เช่น น่าน อุตรดิตถ์ สวรรคโลก ในขณะนั้นเจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกไม่อยู่ ไปช่วยราชการที่กรุงเทพฯ จึงสั่งให้หัวเมืองเหนือยกกำลังไปปราบเงี้ยวที่เมืองแพร่ พระสีหสงคราม เจ้าเมืองอุตรดิตถ์รบป้องกันเมืองอุตรดิตถ์ไว้เป็นสามารถ จึงได้รับเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร และต่อมาเมื่อเจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) สมุเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกย้ายไปเป็นปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ท่านได้เลื่อนขึ้นเป็น สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกแทน เมื่อเกิดกรณีพิพาทฝรั่งเศส - ไทย พ.ศ. 2436 และไทยยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสไปแล้ว แต่ฝรั่งเศสยังคุกคามไทยด้วยประการต่าง ๆ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยจึงได้ทรงจัดระเบียบการปกครองหัวเมืองต่าง ๆ ใหม่ ยกเลิกตำแหน่งข้าหลวงต่างพระองค์ พระองค์เจ้าวัฒนานุคุณ (ม.จ. วัฒนา รองทรง) ข้าหลวงต่าง พระองค์สำเร็จราชการมณฑลอุดร เสด็จกลับกรุงเทพฯ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเห็นว่า มณฑลอุดรสำคัญกว่ามณฑลพิษณุโลก เพราะมณฑลอุดรอยู่ติดชายแดนลาว ของฝรั่งเศส จึงให้พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ไปเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร นับเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรคนแรก การรับราชการ เริ่มรับราชการด้วยการถวายตัวเป็นมหาดเล็กในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ แล้วลาออกไปค้าขายที่เมืองเหนือ ต่อมาเจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) สมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ให้เข้ารับราชการด้วย จนได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระสีหสงคราม เจ้าเมืองอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2445 เกิดขบถเงี้ยวเมืองแพร่ ได้รวบรวมกำลังไพร่พลต่อสู้ป้องกันเมืองอุตรดิตถ์จากขบถได้พ้น ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ต่อมาได้เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลกแทนเจ้าพระยาสุรสีหวิสิษฐศักดิ์ พ.ศ. 2449 - 2454 ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดร ความเชียวชาญ พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ได้จัดระเบียบการปกครองมณฑลอุดรด้วยดี มีความสงบเรียบร้อยและสามารถประสานสัมพันธ์กับฝรั่งเศสได้เรียบร้อย ในกรณีที่ญวนอพยพซึ่งต่อต้านฝรั่งเศส ได้เข้ามาอยู่ที่มณฑลอุดร พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตรเลี้ยงดูญวนนั้นอย่างใกล้ชิด เป็นเหตุให้ฝ่ายฝรั่งเศสเข้าใจว่าไทยสนับสนุนญวน แต่ท่านได้ทำความเข้าใจกับฝรั่งเศสได้ และท่านเป็นที่ยอมรับของชาวต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อกับไทย ได้สร้างวัดขึ้น 1 วัดที่หัวหนองนาเกลือ (หนองประจักษ์ศิลปาคม ปัจจุบัน) ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ เพื่อให้ประชาชนละแวกนั้นได้มีที่บำเพ็ญกุศล เพราะเมืองอุดรมีวัดมัชฌิมาวาสวัดเดียว ท่านได้ขอพระราชทานนามวัดจากสมเด็จพระสังฆราช กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ ได้ประทานนามว่า “วัดโพธิสมภรณ์” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ผู้สร้าง และได้เป็นวัดธรรมยุตนิกายแห่งแรกของเมืองอุดรคู่กับวัดมัชฌิมาวาส ฝ่ายมหานิกาย ท่านได้ตัดถนนจากวัดโพธิสมภรณ์ลงไปทางด้านทิศใต้ เพื่อให้การสัญจรของชาวเมืองไปมาค้าขายได้สะดวก เรียกว่า “ถนนโพธิ์ศรี” เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่นามของท่าน พระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) เป็นสมุหเทศาภิบาลมณฑลอุดรจนปี พ.ศ. 2454 จึงได้ถึงแก่อนิจจกรรม
Location
Tambon หมากแข้ง Amphoe Mueang Udon Thani Province Udon Thani
Details of access
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่