ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 13° 6' 42.9998"
13.1119444
Longitude : E 99° 56' 38"
99.9438889
No. : 87741
นายเตือน พาทยกุล
Proposed by. อรอนงค์ บุญประเสริฐ Date 1 June 2011
Approved by. เพชรบุรี Date 9 September 2011
Province : Phetchaburi
0 943
Description

นายเตือน พาทยกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) ปี พ.ศ. 2535 นายเตือน พาทยกุล เกิดวันเสาร์ เดือน 3 ขึ้น 3 ค่ำ ปีมะเส็ง พ.ศ. 2448 ณ จังหวัดเพชรบุรีบิดา นายพร้อม มารดา นางตุ่น พาทยกุล ถึงแก่กรรมแล้วด้วยโรคติดเชื้อในกระแสโลหิต เนื่องด้วยปอด เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2546 เวลา 13.40 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช รวมสิริอายุได้ 98 ปี มีน้องสาวคนเดียวแต่ถึงแก่กรรมเมื่อยังเด็ก นายเตือน พาทยกุล สมรสกับนางกิมไล้ เมื่อ พ.ศ. 2471 มีบุตรชายหญิงรวม 4 คน เป็นชาย 1 คน หญิง 3 คน ต่อมานางกิมไล้ถึงแก่กรรม จึงได้สมรสกับนางบุญเรือง เมื่อ พ.ศ. 2485 มีบุตรชายหญิงรวม 4 คน เป็นชาย 2 คน หญิง 2 คน ประวัติการทำงาน 1.ประมาณ พ.ศ. 2465 เป็นครูสอนดนตรีประจำวงปี่พาทย์บางประทุน 2.ประมาณ พ.ศ. 2468 เป็นนักดนตรีประจำวงปี่พาทย์ นายปุ่น คงศรีวิไล ซึ่งเป็นศิษย์ ของครูจางวางทั่ว พาทยโกศล ที่วัดหญ้าไทร คลองอ้อม จังหวัดนนทบุรี 3.ประมาณ พ.ศ. 2470 ได้ตั้งวงปี่พาทย์เองที่จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวงนายเตือน พาทยกุล ในระหว่างที่อยู่จังหวัดเพชรบุรีได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์ สอนพิเศษวิชาดนตรีและขับร้องที่โรงเรียนฝึกหัดครูจังหวัดเพชรบุรี 4.ประมาณ พ.ศ. 2479 ได้ตั้งวงปี่พาทย์ที่บ้านริมคลองรถไฟปากคลองสาน จังหวัดธนบุรี 5.ประมาณ พ.ศ. 2516 ได้รับเชิญเป็นอาจารย์สอนพิเศษในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง อาทิ โรงเรียนวิสุทธิกษัตรี โรงเรียนราชประชาสมาศัย โรงเรียนอัสสัมชัญ โรงเรียนศรีอยุธยา คณะคุรุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต วิทยาลัยนาฏศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กรมศิลปากร เป็นต้น 6.ประมาณพ.ศ. 2538 เปิดโรงเรียนพาทยกุลการดนตรีและนาฏศิลป์ นายเตือน พาทยกุล เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นศิลปินชั้นครูที่มีความสามารถทางศิลปะการแสดงด้านดนตรีไทยเป็นเลิศ โดยเฉพาะทางปี่พาทย์ นับว่าเป็นผู้มีความสามารถสูงสุดคนหนึ่ง นายเตือน พาทยกุล มีความสามารถบรรเลงเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยได้หลายชนิด ทั้งระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก และซอสามสามสาย จนปรากฏเลื่องลือไปในหลายวงการ นอกจาก ความสามารถในด้านการบรรเลงเพลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยหลายชนิดแล้ว นายเตือน ยังมีความสามารถในด้านการประพันธ์เพลงอีกด้วย เคยประพันธ์เพลงไทยไว้จำนวนมาก เช่น เพลงโหมโรงเทพอัศวินสามชั้น แขกมอญบางช้างสองชั้น โหมโรงเพชรศรีอยุธยา นาคบริพัตรทางเปลี่ยน เป็นต้น ความสามารถพิเศษเฉพาะของนายเตือน พาทยกุล อีกด้านหนึ่งได้แก่การประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด และยังเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีไทยย่อส่วนขนาดเล็ก ที่สามารถใช้บรรเลงเป็นมาตรฐานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นศิลปินที่ไม่หวงแหนวิชาความรู้ ได้รับเชิญเผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นครูด้านดนตรีไทย ประวัติการศึกษา นายเตือน พาทยกุล เรียนจบระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดโพธาราม จังหวัดเพชรบุรี ระหว่างนั้นได้เริ่มเรียนดนตรีกับคุณปู่ คุณพ่อ ก็เล่นดนตรีอยู่แล้ว ต้นตระกูลของท่านปู่ทวด (พ่อครูต่าย) เป็นช่างทองมีชื่ออยู่บ้านตรอกท่าช่อง มีลูกชาย ๒ คน ปู่ต้ม ปู่แดง เป็นลูกช่างทอง แต่เกิดอยากเรียนดนตรีจึงเดินทางเข้ามาเรียนที่กรุงเทพฯ กับครูมีแขก (พระประดิษฐไพเราะ) ปู่แดงเรียนทางปี่ ปู่ต้มเรียนทางฆ้อง แล้วทั้งสองพี่น้องก็กลับไปตั้งวงที่เพชรบุรี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมาทรงวางศิลาฤกษ์สร้างวังบ้านปืน โปรดให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ทรงควบคุมงานก่อสร้าง คุณปู่ทราบว่าเจ้าฟ้าพระองค์นั้นโปรดเรื่องดนตรีไทยมาก จึงนำเครื่องดนตรีไทยมาบรรเลงถวายตอนกลางคืน ทำให้ทรงคุ้นเคยและโปรดฝีมือคุณปู่มากว่า สามารถบรรเลงเพลงเก่า ๆ ได้ไพเราะ หาฟังยากแล้ว จึงทรงพระราชทานนามสกุล “พาทยกุล” ให้คุณปู่ แต่นั้นมา นายเตือน พาทยกุล เมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ จางวางทั่วพาทยโกศล ที่กรุงเทพฯ นั้น ได้เรียนรู้จากคุณปู่ มาบ้างแล้ว สามารถตีฆ้อง ตีระนาดได้ตั้งแต่อายุ ๗ ขวบ พอเข้ามาเป็นศิษย์จางวางทั่วพาทยโกศล ก็อายุ ๑๐ ขวบพอดี การเรียนดนตรีไทยกับครูจางวางทั่วพาทยโกศล วันที่พ่อพาไปฝากครู พอถึงตอนเย็นก็ทำพิธีไหว้ครู แล้วท่านก็ให้หัดตีระนาดตั้งแต่นั้นมา เริ่มต่อเพลงทะแย ซึ่งเป็นเพลงสำหรับไล่มือตอนเช้า หัดจนจบ ๖ ท่อน ครูให้ตื่นซ้อมมือทุกเช้าตั้งแต่ ตี ๕ วันละ ๒ เที่ยว อยู่มาได้ปีกว่า ท่านก็ต่อเพลงเดี่ยว เพลงสารถี,แขกมอญ เชิดนอก ฯลฯ หลังจากนั้น ท่านก็ต่อเพลงเดี่ยวกราวใน ให้หัดนานเกือบเดือน จึงจบทั้งเถา แต่ก็ยังคงต้องตีเพลงทะแยไล่มือเช้ามืดทุกวัน เพราะเพลงทะแยกับเพลงกราวในเป็นเพลงฝึกซ้อมมือสำหรับระนาดได้เป็นอย่างดี นายเตือน พาทยกุล บรรเลงดนตรีไทย ท่านก็เล่นได้รอบวง แต่ชอบระนาดมากที่สุด เพราะบรรเลงยาว มีเพลงเก่า ๆ หลายเพลงที่ท่านได้รับการถ่ายทอดไว้ ท่านเล่าว่าไปถ่ายทอดให้ใครก็ไม่สามารถเล่นได้ เกรงว่าเพลงเก่าและดี จะสูญหาย ไม่มีใครถ่ายทอด ท่านก็พยายามอัดเทปไว้ มีผู้ถามว่านายเตือน พาทยกุล เคยถวายการสอนแด่สมเด็จพระเทพฯบ้างหรือไม่ ท่านเล่าว่าท่านเคยถวายคำแนะนำการบรรเลงระนาดตั้งแต่พระองค์ยังบรรเลงไม่เป็น ท่านบอกว่าถ้าจะเริ่มต้นต้องเริ่มตีฆ้องวงใหญ่ก่อนเป็นหลัก แล้วดัดแปลงเนื้อกลอนฆ้องเป็นกลอนระนาด เดี๋ยวนี้พระองค์ท่านเก่งไม่ต้องถวายการสอนแล้ว พระองค์เคยรับสั่งให้ผมไปเฝ้า ให้ผมตีเพลงที่ไม่เคยทรงฟังมาก่อน ผมตีเพลงการะเวกถวาย เพลงการะเวกเป็นเพลงเก่ามาก ตั้งแต่สมัยเจ้าคุณเสนาะดุริยางค์ หม่อมส้มจีนเป็นคนขับร้อง สำหรับเพลงดี ๆ ที่หายไป คงต้องพยายามหาทางรื้อฟื้นสอบถามจากท่านผู้รู้ เกียรติคุณที่ได้รับ •รางวัลชนะเลิศถ้วยเงินในการประกวดวงปี่พาทย์ของจังหวัดเพชรบุรี •โล่ห์ อ.ส.ช. •ปริญญาศึกษาศาสตร์บัณฑิตกิติมศักดิ์ทางด้านดุริยางค์ไทยจากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล •เกียรติบัตรกรรมการการประกวศดนตรีไทยเพื่อความมั่นคง •ศิลปินแห่งชาติ (โล่ห์ และ เข็มทองคำเชิดชูเกียรติ) สาขาศิลปการแสดง ด้านดนตรีไทยประจำปี พ.ศ. 2535 •เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมภรณ์ช้างเผือก
ปัจจุบัน นายเตือน พาทยกุล เสียชีวิตแล้ว

Location
Amphoe Mueang Phetchaburi Province Phetchaburi
Details of access
-
Reference นางชูศรี เย็นจิตร์
Organization สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี Email petburi_culture@hotmail.com
Tambon คลองกระแชง Amphoe Mueang Phetchaburi Province Phetchaburi ZIP code 76000
Tel. 0 3242 4324 Fax. 0 3242 4325
Website http://province.m-culture.go.th/petchaburi
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่