ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
Latitude : N 17° 6' 24.8713"
17.1069087
Longitude : E 99° 28' 38.9165"
99.4774768
No. : 165411
ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีทานสลาก
Proposed by. สุโขทัย Date 24 October 2012
Approved by. สวจ.สุโขทัย Date 24 October 2012
Province : Sukhothai
0 507
Description

ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตรในล้านนาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งเรียก "กิ๋นก๋วยสลก" บางแห่ง "กิ๋นสลาก" บางแห่งว่า "ตานก๋วยสลาก" ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สำหรับวิธีการทำบุญมีแตกต่างกันไปตามความนิยมในท้องถิ่นของตน ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือทานสลากนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธศาสนา ตั้งแต่พุทธกาลสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ปรากฏในพระธรรมบทขุททกนิกายว่า "พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสาวกอรหันต์ของพระองค์ คือพระโกณฑธานเถระ ซึ่งเป็นผู้โชคดีในการจับสลากได้ที่หนึ่งทุกครั้ง แม้พระพุทธเจ้าก็สู้ทานไม่ได้ พระสาวกทั้งหลายที่มีความสงสัยว่า ทำไมท่านจึงโชคดีเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งมวลว่าโกณฑธานปราถนาว่าถ้าเลือกอะไร ขอให้ได้ที่หนึ่งเสมอ ดังนั้นในชาตินี้โกณฑธานจึงเป็นผู้โชคดี"

พิธีกรรมก๋วยสลาก

เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลาก จะจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานเข้าวัดโดยขบวนแห่จะมีการฟ้อนรำของศราทธาชาวบ้านซึ่งจะมากันเป็นหมู่บ้าน เรียกว่าศรัทธาของหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านที่จัดประเพณีนี้ขึ้น และศรัทธาหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงาน กัณฑ์สลากแต่ละกัณฑ์จะมีเส้น สลาก เขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลักและเทวดาทั้งหลายและมี ชื่อเจ้าของกัณฑ์ เส้นสลากที่เขียนจะเขียนลงในแผ่นใบตาล หรือใบลาน หรือกระดาษแข็ง เท่าจำนวนของเครื่องไทยทาน และนำเส้นสลากไปกองรวมกันยังที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิหารหน้าพระประธาน กรรมการจะจัดแบ่งสลากออกเป็นกองๆ ตามจำนวนที่พระภิกษุ สามเณร ที่นิมนต์มาร่วมพิธีและจัดแบ่งให้พระประธานด้วย ถือว่าเป็นตัวแทนของ พระพุทธเจ้า ถ้ามีสลากจำนวนมาก พระภิกษุจะได้รับ20เส้น สามเณรได้10เส้น เส้นที่เหลือสมทบถวายพระประธาน เมื่อเสร็จจากการแบ่งเส้นสลาก คณะกรรมการจะนำเส้นสลากที่แบ่งแล้วจำนวน1มัด ไปประเคนพระผู้อาวุโส ซึ่งเป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นกรรมการจึงนำเส้นสลากไปถวายพระเณรตามลำดับ เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาจบแล้ว ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันไปนั่ง ณ ที่จัดไว้ให้ชาวบ้านเจ้ากัณฑ์สลากต่างพากันตามหาเส้นสลากแล้วจึงถวายของ เมื่อรับพรเสร็จรับเส้นสลากของตนไปเผา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ตายเป็นเสร็จพิธีสำหรับเครื่อง ไทยทานที่จัดทำเป็นต้นกัลปพฤกษ์เจ้าของต้องนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรที่ได้เส้นสลากไปยังที่ตั้งของเครื่องไทยทานเพื่อถวายบางครั้งกัณฑ์สลากจัดทำเป็นหุ่นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ขนใกล้เคียงของจริงทำด้วยหุ่นโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยผ้า ทาสสีสันให้เหมือนสัตว์จริง การถวายมีลักษณะเช่นเดียวกับกัณฑ์สลากอื่นๆ

การกินสลากนิยมจัดหลังจากการออกพรรษา ประเพณีตานก๋วยสลากบางหมู่บ้านจะจัดทุกปี บางหมู่บ้านอาจจัดเว้นปี หรือ3ปี จัดครั้งหนึ่ง หรือ4ปี หรือ5ปี ต่อครั้ง เพราะเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำกัณฑ์สลากการตานก๋วยสลากจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจชุมชนและความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน การสืบสานประเพณีไทยและการจรรโลงพุทธศาสนา

Location
วัดวังหาด บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
Moo บ้านวังหาด
Tambon ตลิ่งชัน Amphoe Ban Dan Lan Hoi Province Sukhothai
Details of access
บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
Reference นายสิงห์ วุฒิชมภู
Organization เทศบาลตำบลตลิ่งชัน
No. 40/3 Moo 5 บ้านวังโตก
Tambon ตลิ่งชัน Amphoe Ban Dan Lan Hoi Province Sukhothai ZIP code 64140
Tel. 0559466747
Comment
Please Login Before comment.

Username
Password
No comment.
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่