ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 17° 6' 24.8713"
17.1069087
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 28' 38.9165"
99.4774768
เลขที่ : 165411
ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีทานสลาก
เสนอโดย สุโขทัย วันที่ 24 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย สวจ.สุโขทัย วันที่ 24 ตุลาคม 2555
จังหวัด : สุโขทัย
0 508
รายละเอียด

ประเพณีตานก๋วยสลากหรือประเพณีทานสลาก คือ การทำบุญสลากภัตรในล้านนาไทย มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น บางแห่งเรียก "กิ๋นก๋วยสลก" บางแห่ง "กิ๋นสลาก" บางแห่งว่า "ตานก๋วยสลาก" ในความหมายเป็นอย่างเดียวกัน สำหรับวิธีการทำบุญมีแตกต่างกันไปตามความนิยมในท้องถิ่นของตน ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือทานสลากนี้เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธศาสนา ตั้งแต่พุทธกาลสมัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ปรากฏในพระธรรมบทขุททกนิกายว่า "พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญพระสาวกอรหันต์ของพระองค์ คือพระโกณฑธานเถระ ซึ่งเป็นผู้โชคดีในการจับสลากได้ที่หนึ่งทุกครั้ง แม้พระพุทธเจ้าก็สู้ทานไม่ได้ พระสาวกทั้งหลายที่มีความสงสัยว่า ทำไมท่านจึงโชคดีเช่นนั้น พระพุทธเจ้าตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งมวลว่าโกณฑธานปราถนาว่าถ้าเลือกอะไร ขอให้ได้ที่หนึ่งเสมอ ดังนั้นในชาตินี้โกณฑธานจึงเป็นผู้โชคดี"

พิธีกรรมก๋วยสลาก

เมื่อถึงวันที่กำหนดชาวบ้านเจ้าของกัณฑ์สลาก จะจัดขบวนแห่เครื่องไทยทานเข้าวัดโดยขบวนแห่จะมีการฟ้อนรำของศราทธาชาวบ้านซึ่งจะมากันเป็นหมู่บ้าน เรียกว่าศรัทธาของหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านที่จัดประเพณีนี้ขึ้น และศรัทธาหมู่บ้านอื่นที่มาร่วมงาน กัณฑ์สลากแต่ละกัณฑ์จะมีเส้น สลาก เขียนข้อความอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลักและเทวดาทั้งหลายและมี ชื่อเจ้าของกัณฑ์ เส้นสลากที่เขียนจะเขียนลงในแผ่นใบตาล หรือใบลาน หรือกระดาษแข็ง เท่าจำนวนของเครื่องไทยทาน และนำเส้นสลากไปกองรวมกันยังที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิหารหน้าพระประธาน กรรมการจะจัดแบ่งสลากออกเป็นกองๆ ตามจำนวนที่พระภิกษุ สามเณร ที่นิมนต์มาร่วมพิธีและจัดแบ่งให้พระประธานด้วย ถือว่าเป็นตัวแทนของ พระพุทธเจ้า ถ้ามีสลากจำนวนมาก พระภิกษุจะได้รับ20เส้น สามเณรได้10เส้น เส้นที่เหลือสมทบถวายพระประธาน เมื่อเสร็จจากการแบ่งเส้นสลาก คณะกรรมการจะนำเส้นสลากที่แบ่งแล้วจำนวน1มัด ไปประเคนพระผู้อาวุโส ซึ่งเป็นประธานในพิธี ต่อจากนั้นกรรมการจึงนำเส้นสลากไปถวายพระเณรตามลำดับ เมื่อพระสงฆ์ อนุโมทนาจบแล้ว ชาวบ้านต่างแยกย้ายกันไปนั่ง ณ ที่จัดไว้ให้ชาวบ้านเจ้ากัณฑ์สลากต่างพากันตามหาเส้นสลากแล้วจึงถวายของ เมื่อรับพรเสร็จรับเส้นสลากของตนไปเผา แล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปหาผู้ที่ตายเป็นเสร็จพิธีสำหรับเครื่อง ไทยทานที่จัดทำเป็นต้นกัลปพฤกษ์เจ้าของต้องนิมนต์พระภิกษุหรือสามเณรที่ได้เส้นสลากไปยังที่ตั้งของเครื่องไทยทานเพื่อถวายบางครั้งกัณฑ์สลากจัดทำเป็นหุ่นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ขนใกล้เคียงของจริงทำด้วยหุ่นโครงไม้ไผ่หุ้มด้วยผ้า ทาสสีสันให้เหมือนสัตว์จริง การถวายมีลักษณะเช่นเดียวกับกัณฑ์สลากอื่นๆ

การกินสลากนิยมจัดหลังจากการออกพรรษา ประเพณีตานก๋วยสลากบางหมู่บ้านจะจัดทุกปี บางหมู่บ้านอาจจัดเว้นปี หรือ3ปี จัดครั้งหนึ่ง หรือ4ปี หรือ5ปี ต่อครั้ง เพราะเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงในการจัดทำกัณฑ์สลากการตานก๋วยสลากจึงเป็นสิ่งสะท้อนถึงสภาพเศรษฐกิจชุมชนและความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน การสืบสานประเพณีไทยและการจรรโลงพุทธศาสนา

สถานที่ตั้ง
วัดวังหาด บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้านวังหาด
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บ้านวังหาด อำเภอบ้านด่านลานหอย จังหวัดสุโขทัย
บุคคลอ้างอิง นายสิงห์ วุฒิชมภู
ชื่อที่ทำงาน เทศบาลตำบลตลิ่งชัน
เลขที่ 40/3 หมู่ที่/หมู่บ้าน 5 บ้านวังโตก
ตำบล ตลิ่งชัน อำเภอ บ้านด่านลานหอย จังหวัด สุโขทัย รหัสไปรษณีย์ 64140
โทรศัพท์ 0559466747
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่