ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 35' 40.4776"
18.5945771
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 17.8597"
99.0216277
เลขที่ : 121235
เรือนสะระไนย
เสนอโดย lamphun วันที่ 20 มกราคม 2555
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 24 ธันวาคม 2555
จังหวัด : ลำพูน
0 678
รายละเอียด

คำว่า “สะระไนย” มีที่มาจาก “สุระหนี่”ภาษาชวา หมายถึงเครื่องดนตรีประเภทปี่สรไน หรือ ปี่ไฉนของ

อินโดนีเชีย ซึ่งภาษามอญโบราณเรียกแผลงจาก “สุระหนี่”มาเป็น”สะระไนย”(สะระไนย)โดยปรากฏหลักฐานเก่าสุดด้านลายลักษณ์ ในศิลาจารึก อักษรไทยล้านนาที่วัดพระยืน(หลัก ลพ.๓๘)อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จารึกเมื่อปี พ.ศ.๑๙๑๓ มีข้อความเกี่ยวเนื่องกับตอนที่พระญากือนา หรือพระญาธรรมิกราชาแห่งเชียงใหม่ ด้เตรียมการต้อนรับขบวนเสด็จของพระมหาสุมนเถระจากสุโขทัยสู่เมืองลำพูนด้วยการประโคมเครื่องดนตรีนานาชนิด ว่า

“ท่านพญาธรรมิกราชบริพารด้วยฝูงราชโยธามหาพลลูกเจ้าลูกขุนมนตรีทั้งหลาย ย้ายกันให้ถือกระทงข้าวตอกดอกไม้ ไต้เทียน ตีพาทย์ดังพิณ ฆ้อง กลอง ปี่สะระไน พิสเนญชัย ทะ-เทียดกาเหล แตรสังข์มาน กังสะดานมะระทง

ดงเดือด เสียงเลิศเสียงก้อง อีกทั้งคนร้องโห่อื้อดาสะท้านทั่วทั้งนครหริภุญไชย

ด้วยรูปทรงของ “ปี่สะระไน”ที่เป็นแท่งยาวทรงสูงสง่านี้เอง ต่อมาจึงได้ถูกช่างพื้นบ้านชาวล้านนานำไปใช้เรียกองค์ประกอบสถาปัตยกรรมในส่วน “ปั้นลม”(ป้านลม)หรือ “ช่อฟ้า”ที่ใช้ประดับบริเวณหน้าจั่วหลังคาบ้านชนิดหนึ่ง ว่า “สะระไนย” เช่นกัน เนื่องจากปั้นลมดังกล่าวมีความสูงราว ๑ ฟุตเศษใกล้เคียงกับความยาวของปี่ไฉน ทั้งยังเป็นรูปแท่งไม้กลมกลึงฉลุลายคล้ายเสาสูงส่วนปลายยอดจำหลักเป็นเม็ดน้ำค้างคล้ายปากปี่ นอกจากนี้ยังตกแต่งปีกด้านข้างทั้งสองของปั้นลมด้วยลวดลายพรรณพฤกษาหรือลายกนกคล้ายปีกนกทรงสามเหลี่ยม หลังคาบ้านที่ประดับด้วย “สะระไน” มักสร้างเป็นหลังคาทรงจั่วแบบมนิลา ๒ จั่ว (คือเปิดเฉพาะด้านหน้าและด้านหลัง)ในขณะเดียวกัน “สะระไนย”ยังใช้ประดับบ้านที่สร้างด้วยหลังคาปั้นหยาแบบปิดหมดทั้งสี่ด้านอีกด้วย

บ้านโบราณของชาวลื้อชาวยองในอดีตราว ๒๐๐ ปีที่ผ่านมาเมื่อครั้งอพยพมาตั้งกถิ่นฐานในเมืองลำพูนเกือบทั้งหมดจะสร้างเป็นเรือนสะระไน หลังคาใช้โครงสร้างมุงด้วยกระเบื้องว่าว และบริเวณมุมยอดจั่วประดับด้วยสะระไนทั้งสิ้น ความงามของสะระไนที่แกะสลักลวดลายอย่างวิจิตรสามารถใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคมของคหบดีอีกด้วย

คำกล่าวที่ว่า “เอกลักษณ์ของเรือนพื้นถิ่นเชียงใหม่คือกาแล”เป็นที่คุ้นหูคนทั่วไปและคงไม่ผิดนัก หากจะกล่าวว่า “เอกลักษณ์ของเรือนโบราณในลำพูน (เฮือนบะเก่าจาวยอง)ก็คือเรือนสะระไนย”เช่นเดียวกัน

สถานที่ตั้ง
จังหวัดลำพูน
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
ชื่อที่ทำงาน สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
เลขที่ 3 หมู่ที่/หมู่บ้าน 1
ตำบล ในเมือง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 053510243 โทรสาร 053510244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่