ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 18° 34' 41.0002"
18.5780556
ลองจิจูด (แวง) : E 99° 1' 4.0001"
99.0177778
เลขที่ : 197750
ผ้ายกดอกลำพูน
เสนอโดย ลำพูน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
อนุมัติโดย ลำพูน วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566
จังหวัด : ลำพูน
0 225
รายละเอียด

ผ้ายกดอกลำพูน เป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวลำพูนที่มีความงดงามประณีตด้วยฝีมือและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน เช่นเดียวกับศิลปวัฒนธรรมอื่น ๆ ของลำพูน มีการเริ่มต้นในคุ้มเจ้า ซึ่งแต่เดิมมีการทอผ้ายกดอกกันอยู่ก่อน แต่เป็นการทอผ้ายกดอกในผ้าฝ้ายและเป็นลวดลาย ธรรมดาๆ ไม่สวยงามวิจิตรนัก จนกระทั่งพระราชชายาเจ้าดารารัศมีซึ่งเป็นพระญาติกับเจ้าเมืองลำพูนได้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการทอผ้ายก
ดอกที่มีลวดลายสวยงามและมีความวิจิตรบรรจง ให้แก่หมู่ข้าราชบริพาร ในคุ้มเจ้า ต่อมาการทอผ้ายกดอกจึงได้เผยแพร่ไปสู่สาธารณะชนทั่วไป โดยได้มีการฝึกหัดชาวบ้านจนมีความรู้ เรื่องการทอผ้ายกดอกเป็นอย่างดี จึงทำให้จังหวัดลำพูน กลายเป็นศูนย์กลางการทอผ้าไหมยกดอกแหล่งสำคัญ ของประเทศไทย เอกลักษณ์เฉพาะของผ้ายกดอกลำพูน ผ้ายกดอกลำพูน คือ ผ้าที่ทอยกลวดลายให้สูงกว่าผืนผ้า คำว่า “ยก” มาจากลักษณะการทอเส้นไหม ที่เชิดขึ้น เรียกว่า “ยก” และเส้นไหมที่จมลงเรียกว่า “ข่ม” แล้วพุ่งกระสวยไปในระหว่างกลางโดยเลือกยกบางเส้นข่มบางเส้น เพื่อให้เกิดลวดลาย โดยผ้ายกลำพูนจะเป็นผ้ายกที่ใช้เส้นไหมเพิ่มพิเศษทอยกให้เกิด ลวดลาย ซึ่งแยกกับการทอโครงสร้างผ้าที่เป็นการทอด้วยลวดลายขัด ๒ ตะกอ ในปัจจุบันมีการใช้ดิ้นทองดิ้นเงินมาทอยกเส้นเพิ่มพิเศษให้เกิดลวดลายที่สวยงามเพิ่มขึ้น โดยจะใช้ ตะกอลอยแถวใดแถวหนึ่งไม่สามารถที่จะเปลี่ยนลายได้ ถ้าจะเปลี่ยนลายต้องถอดตะกอลอยออกทั้งหมดแล้ว เก็บลายใหม่ขึ้นมา ลายผ้าที่เก็บเป็นตะกอลอยนั้นสามารถทำได้ไม่ต่ำกว่า ๑๕ ไม้ ต่อหนึ่งลาย ผ้าไหมยกดอกของลำพูน มีจุดเด่น คือ การใช้กลุ่มตะกอแยกสีเส้นไหมเพิ่มพิเศษ ออกเป็น 2-3 ตะกอ ในหนึ่งแนวของไหมยกเพิ่มพิเศษ ทำให้เกิดสีสัน 2-3 สี ในลวดลายดอก เรียกว่า “ดอกสอดสี” อันเป็น เอกลักษณ์เฉพาะของผ้ายกดอกลำพูนที่สวยงามและทรงคุณค่าของงานหัตถศิลป์ อันเป็นมรดกภูมิปัญญา ของชาวลำพูนที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลานในปัจจุบัน ผ้ายกดอกลายดอกพิกุล ลายดอกพิกุล เป็นลวดลายผ้าโบราณที่มีการออกแบบสำหรับทอผ้าลำพูนในอดีตซึ่งต่อมาได้มีการออกแบบลวดลายดอกพิกุลที่หลากหลายขึ้น เช่น พิกุลเครือ พิกุลมีขอบ พิกุลก้านแหย่งพิกุลเชิงใหญ่ พิกุลถม เศร พิกุลเล็ก พิกุลใหญ่ พิกุลสมเด็จ และพิกุลกลม เป็นต้น ซึ่งแต่ละลวดลายจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันคือ ขนาดดอกพิกุล และสีสันของเส้นไหมหรือดิ้นเงิน ดิ้นทองที่กำหนดลงไปให้แตกต่างกัน นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มลวดลายอื่น ๆ ลงไปประกอบกับดอกพิกุล เช่น การเพิ่มกลีบ ก้าน ใบ เกสร และเพิ่มเหลี่ยมของดอกพิกุล เป็นต้น เนื่องด้วยลายดอกพิกุลเป็นลวดลายโบราณที่เป็นเอกลักษณ์ของผ้ายกลำพูน และเป็นที่รู้จัก ของคนส่วนมาก ดังนั้น ผู้ออกแบบจึงนิยมนำลายดอกพิกุลมาผสมผสาน กับลวดลายประยุกต์อื่นๆ เพื่อคงไว้ ซึ่งอัตลักษณ์ของผ้าลำพูนให้ดำรงอยู่สืบไป

สถานที่ตั้ง
อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
อีเมล์ culturelamphun@gmail.com
ชื่อที่ทำงาน สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน
ตำบล เวียงยอง อำเภอ เมืองลำพูน จังหวัด ลำพูน รหัสไปรษณีย์ 51000
โทรศัพท์ 0 5351 0243 โทรสาร 0 5351 0244
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่