ร่วมแสดงความคิดเห็นกับเรา
ขอขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชมเวบไซต์ m-culture.in.th

เราได้จัดทำแบบสำรวจแบบง่ายๆ เพื่อจะ
ได้ทราบถึงสิ่งที่ผู้เยี่ยมชมเวบไซต์เรา
ชอบและให้เราได้เรียนเกี่ยวกับคุณมากขึ้น
 
ละติจูด (รุ้ง) : N 13° 52' 54.0001"
13.8816667
ลองจิจูด (แวง) : E 101° 24' 24.0001"
101.4066667
เลขที่ : 163748
ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ ปี ๒๕๔๕ นายสุจิตต์ วงษ์เทศ
เสนอโดย oOannieOo วันที่ 10 ตุลาคม 2555
อนุมัติโดย ปราจีนบุรี วันที่ 10 ตุลาคม 2555
จังหวัด : ปราจีนบุรี
2 1594
รายละเอียด

ประวัติ

นายสุจิตต์ วงษ์เทศ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ เมษายน ๒๔๘๘ ที่บ้านด่าน ตำบลโคกปีบ อำเภอศรีมโหสถ (โคกปีบ) จังหวัดปราจีนบุรี บิดาเป็นอดีตผู้ใหญ่บ้าน ชื่อนายสำเภา วงษ์เทศ มารดาชื่อนางลิ้นจี่ วงษ์เทศ เป็นบุตรคนโตในจำนวนพี่น้อง ๖ คน สมรสกับนางปราณี วงษ์เทศ (สกุลเดิม เจียรดิษฐ์-อาภรณ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ มีบุตร ๒ คน

การศึกษา

เริ่มเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดต้นโพธิ์ อำเภอศรีมโหสถ แล้วเข้ามาเรียนต่อในกรุงเทพมหานคร

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ ที่โรงเรียนวัดมกุฎกษัตริยาราม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๗ ที่โรงเรียนวัดนวลนรดิศ

และชั้นมัธยมปีที่ ๘ ที่โรงเรียนผดุงศิษย์พิทยา สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

การทำงาน

นายสุจิตต์ วงศ์เทศ เป็นทั้งนักประพันธ์ (ร้อยแก้วและร้อยกรอง) นักประวัติศาสตร์ นักโบราณคดี นักหนังสือพิมพ์

อาจารย์สอนวิชาภาษาไทย ปัจจุบันเป็นเจ้าของและบรรณาธิการวารสารศิลปวัฒนธรรม

สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้รับรางวัล " ศรีบูรพา " ประจำปี พ.ศ.๒๕๓๖

เขาเล่าว่า เขาไม่เคยปรารถนาจะเป็นนักเขียน หากเขียนตามแรงยุของ เพื่อนสนิท ๒ คน ขรรค์ชัย บุนปาน

และ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ เรื่องสั้นเรื่องแรก คือ ขุนเดช ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ในชื่อเรื่อง "คนบาป" ชุด " ขุนเดช" เมื่อเรื่องได้รับการตีพิมพ์ลงในสยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็คือ " ผมคิดว่า เราก็เขียนหนังสือได้นี่ ตอนนั้นเรื่องสั้น ใครได้ลงสยามรัฐ สัปดาหวิจารณ์ ก็เหมือนเรียนจบมหาวิทยาลัย

ความบันดาลใจเขียนหนังสือของผมเกิดขึ้นตอนนั้น " ตั้งแต่เยาว์วัย เขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือ เพราะมาเรียนหนังสือที่วัดมกุฎกษัตริยาราม และพักที่วัดเทพธิดารามซึ่งเป็นวัดที่สุนทรภู่บวชเมื่อครั้งแต่งเรื่องพระอภัยมณี ที่วัดนี้มีหนังสือมากมายซึ่งเป็นแหล่งความรู้ที่ดีเยี่ยมสำหรับผู้ที่สนใจไขว่คว้า เมื่อมีเวลาว่าง

ก็จะไปซื้อหนังสือวรรณคดีโบราณ หนังสืองานศพมาอ่าน โดยไปกับ ขรรค์ชัย บุนปาน เพื่อนรักที่เรียนอยู่วัดนวลนรดิศ การอ่านทำให้ได้ความรู้ ความสนุกสนานเพลิดเพลินและทำให้ได้ภาษาซึมซาบไปด้วย

เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้วเขาไปสมัครทำงานที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

ต่อมาจึงมาบริหารงานโรงพิมพ์พิฆเณศ เมื่อเกิดเหตุการณ์มหาวิปโยค ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๔ จึงมาร่วมงานกับขรรค์ชัย บุญปานทำหนังสือพิมพ์รายวัน " ประชาชาติ " จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ รัฐบาลได้สั่งปิดโรงพิมพ์

สุจิตต์ได้วิเคราะห์ว่าตนเองไม่เหมาะกับการทำหนังสือพิมพ์รายวันเพราะใจไม่ถึง แข็งแกร่งไม่พอ สู้ไม่ไหว

เหมาะที่จะทำงานค้นคว้ามากกว่า ต่อมาจึงได้ไปบริหารงานโรงพิมพ์เรือนแก้วราวปี พ.ศ. ๒๕๒๒ กระแสความรักวัฒนธรรมรุนแรงขึ้นมาก นักวิชาการหลายคนออกมาพูดถึงเรื่องประวัติศาสตร์ เช่น "นางนพมาศสุโขทัย" "คนไทยมาจากเทือกเขาอันไต" แต่หลักฐานข้อมูลไม่ชัดเจนและไม่ตรง สุจิตต์จึงได้ออกวารสารชื่อ "ศิลปวัฒนธรรม" และตีพิมพ์บทความเรื่อง " คนไทยมาจากไหน? " ทำให้เกิดความฮือฮาทั่วประเทศ เขากล่าวว่า " ที่ผมทำ ศิลปวัฒนธรรม เพราะผมค้างคาในใจจากการที่ผมเรียนด้านนี้มา สนใจประวัติศาสตร์ไทย แต่ประวัติศาสตร์ไทยไม่ค่อยรัดกุม ไม่ยืนอยู่บนฐานข้อเท็จจริง คนทั่วไปไม่คอยเชื่อเรื่องประวัติศาสตร์ แต่ไม่รู้เถียงอะไร ประวัติศาสตร์ไทยมีแต่สงครามของวีรบุรุษไม่มีมนุษย์ ไม่มีสังคม ไม่มีบ้านเมือง ขาดการวิเคราะห์ ขาดการแสวงหาข้อเท็จจริง

เรื่องที่สอง ผมรู้สึกว่า ถ้านักวิชาการเขียน อ่านลำบาก ยุ่งยากซับซ้อน ไม่ทำออกมาให้อ่านง่าย ผมคิดว่าถ้าเราต้องการสื่อสารให้คนอื่นอ่านทั่วไป ต้องทำออกมาง่ายๆ บ้าง ผมคิดว่าเอาวิธีการทางหนังสือพิมพ์มานำเสนอ น่าสนใจดี

ปรากฏว่าประชาชนทั่วไปให้การต้อนรับอย่างดียิ่ง และเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงปัจจุบัน

นายสุจิตต์ วงษ์เทศ ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พุทธศักราช ๒๕๔๕

รางวัล& เกียรติคุณ
๒๕๒๗ รางวัลดีเด่นประเภทวารสาร มอบโดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ
๒๕๓๖ รางวัลศรีบูรพา มอบโดยกองทุนศรีบูรพา
๒๕๔๕ รางวัล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ มอบโดยสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ


ผลงานประพันธ์

นิราศ (๒๕๐๗),

กลอนลูกทุ่ง (๒๕๐๘),

เห่ลูกทุ่ง (๒๕๐๙),

ครึ่งรักครึ่งใคร่ (๒๕๑๑),

ศรีมหาโพธิ์ และ ศรีวัตสะปุระ (๒๕๑๑) ,

Kuเป็นนิสิตนักศึกษา (ม.ค. ๒๕๑๒) ,

ขุนเดช (พ.ค. ๒๕๑๒) ,

หนุ่มหน่ายคัมภีร์ (๒๕๑๒),

อยุธยายศล่มแล้ว (๒๕๑๒) ,

เดินหน้าเข้าคลอง (๒๕๑๓),

หันหลังชนกัน (เม.ย. ๒๕๑๓),

ประดาบก็เลือดเดือด (เม.ย. ๒๕๑๔) ,

มุกหอมบนจานหยก (๒๕๑๔),

เมด อิน .ยู.เอส..เอ. ภาค ๑ (๒๕๑๖),

โง่เง่าเต่าตุ่น (เมด อิน ยู.เอส.เอ. ภาค ๒) (๒๕๑๖) ,

หยิบเงามาชักเงา (๒๕๑๗),

ไผ่ตัน (๒๕๑๘),

เพลงยาวถึงนายกรัฐมนตรี (๒๕๑๙) ,

เจ้าขุนทองไปปล้น (พ.ค. ๒๕๒๔),

เสภาไพร่ (เม.ย. ๒๕๒๕),

เสภาเผด็จการ (มี.ค.๒๕๒๖),

เสภาน้ำท่วมหาบเร่ ,

เสภาราชสดุดี (๒๕๓๐),

กรุงเทพฯมาจากไหน ? (เม.ย. ๒๕๒๖) ,

สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรกของไทย (พ.ย.๒๕๒๖) ,

คนไทยไม่ได้มาจากไหน,

คนไทยอยู่ที่นี่,

บ้านเชียง,

ฯลฯ

สถานที่ตั้ง
หมู่ที่/หมู่บ้าน บ้า่นด่าน
ตำบล โคกปีบ อำเภอ ศรีมโหสถ จังหวัด ปราจีนบุรี
รายละเอียดการเข้าถึงข้อมูล
บุคคลอ้างอิง นายสุจิตต์ วงษ์เทศ
ชื่อที่ทำงาน กองทุนแบ่งปันเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ
เลขที่ ๘/๒๔ ถนน ถนนพรานนก
ตำบล บ้านช่างหล่อ อำเภอ เขตบางกอกน้อย จังหวัด กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10700
โทรศัพท์ ๐-๒๔๑๑-๐๖๖๘
แสดงความคิดเห็น
โปรด เข้าสู่ระบบ ก่อนทำการแสดงความคิดเห็น

ชื่อผู้ใช้
รหัสผ่าน
ยังไม่มีการแสดงความคิดเห็น
ข้อมูลที่แสดงในระบบนี้ จัดเก็บโดยนักวิชาการวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด
       ข้อมูลนี้เป็นประโยชน์หรือไม่